รังแคเกิดจากอะไร หลายๆ คนคงจะพบกับปัญหากวนใจอย่างเรื่อง รังแค ซึ่งสามารถเกิดกับทุกคนได้ทุกเพศทุกวัย รังแคเป็นปัญหาที่ทำให้คนส่วนใหญ่สูญเสียความมั่นใจ เพราะต้องมานั้งกังวลว่าจะมีเจ้าเกร็ดขาวๆ จะหล่นลงมาที่บ่า หรือจะมีหนังศีรษะลอกออกมาเป็นแผ่นๆ คาอยู่บนหนังศีรษะของเราหรือเปล่า ซึ่งจะทำให้คนอื่นๆ จ้องมองตลอดเวลาก็จะทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ค่อยดีนัก วันนี้ฮาวิล่าห์จะพาไปรู้จักกับรังแคกัน ว่าเจ้า รังแคเกิดมาจาก อะไร แล้วมันมีรังแคกี่ประเภท รวมถึงวิธีการป้องกันรังแคกันนะครับ
จะรู้ได้อย่างไรเมื่อเราเป็นรังแค ?
อาการของรังแค รังแคมีอาการที่สำคัญ ได้แก่
- มีสะเก็ดสีขาวหรือเหลือง ลักษณะเป็นแผ่นแบนและบางมันวาว มักพบบริเวณหนังศีรษะ เส้นผม หรือไหล่
- มีอาการคันศีรษะ หนังศีรษะมัน แดงหรือเป็นสะเก็ด
- มักจะพบว่าเป็นมากในช่วงฤดูหนาวและอาการจะดีขึ้นเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน
ปัญหา รังแคเกิดจากอะไร ได้บ้าง
1.หนังศีรษะแห้ง
สาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดรังแคมักจะเกิดจากหนังศีรษะแห้ง สะเก็ดรังแคที่เกิดจากหนังศีรษะแห้งมักจะมีขนาดเล็กกว่าและมีความมันน้อยกว่าสะเก็ดรังแคที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ และสามารถดูแลได้โดยแชมพูขจัดรังแคที่มีประสิทธิภาพ
2.เชื้อราบนหนังศีรษะ
Malassezia คือเชื้อราบนหนังศีรษะประเภทยีสต์ที่เติบโตบนร่างกายตรงบริเวณที่มีความมัน และเชื่อว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดรังแค Malassezia มักจะพบบนหนังศีรษะทั้งหนังศีรษะที่มีสุขภาพดีและที่มีรังแค แต่หนังศีรษะที่มีรังแคมักจะมีเชื้อราอาศัยอยู่มากกว่า เมื่อหนังศีรษะมีสุขภาพแย่ลง ก็จะทำให้ สารที่เกิดจาก Malassezia ส่งผลให้หนังศีรษะคัน และทำให้เกิดรังแคมากขึ้น
3.ความไม่สมดุลของฮอร์โมน
ผู้หญิงบางคนเกิดรังแคในช่วงที่มีประจำเดือน เนื่องจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน ทำให้เกิดการผลิตน้ำมันที่หนังศรีษะมากขึ้นเนื่องจากหนังศรีษะที่มันมากจึงมักเป็นรังแคได้ง่าย
4.หนังศีรษะได้รับเคมีรุนแรงเป็นประจำ
เช่น ดัดผมบ่อย ทำสีผมบ่อย ใช้แชมพูแรงๆ สเปรย์ฉีดผม หนังศีรษะก็จะถูกกระทบมากทำให้แห้งและทำให้มีการเร่งผลัดเซลผิวในอัตราเร็วกว่าปกติ
5.การเร่งผลัดเซลผิวในอัตราที่ผิดปกติ
นี่แหละที่จะทำให้เซลตายแล้วที่ถูกผลัดออกจะสะสมเป็นกลุ่มก้อนหนาๆ คือรังแคนั่นเอง จากนั้นอาการคันศีรษะก็จะตามมา การสะสมของรังแคยังไปอุดรูขุมขนของเส้นผม ทำให้น้ำมันจากต่อมไขมันที่รากผมไม่สามารถระบายออกมาได้ ทำให้หนังศีรษะขาดน้ำมันหล่อลื่ จึงแห้งคันมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
6.สำหรับคนที่มีปัญหารังแคเรื้อรัง
ก็อาจทำให้หนังศีรษะอักเสบและมีเชื้อราเจริญเติบโตมากผิดปกติ ซึ่งในสภาวะปกติหนังศีรษะคนเราจะมีเชื้อราอาศัยอยู่ในปริมาณน้อยและไม่สร้างปัญหา แต่ในสภาวะที่หนังศีรษะมี รังแค มาก เชื้อราจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและก่อให้เกิดอาการอักเสบของหนังศีรษะ (Pityriasis capitis)
วิธี ขจัดรังแคให้หมดไป
- ใช้แชมพูสระผมขจัดรังแคของฮาวิล่าห์ ควรงดใช้ตัวอื่นไปก่อนเพื่อหยุดการแพ้ และเพื่อควบคุมความมัน
- ใช้ไดย์เป่าผมให้แห้งด้วยลมเย็น ไม่ใช้ลมร้อน
- หลีกเลี่ยงไม่ให้เส้นผมและหนังศีรษะสัมผัสกับสารเคมีต่างๆ บ่อยจนเกินไป เช่น การย้อมผม ดัดผม หรือยืดผม ใช้เจลแต่งผม สเปรย์ แว๊ก เป็นต้น
- ไม่แกะ เกา ศีรษะ เขย่าเส้นผม เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดแผลลอก และทำให้หลังศีรษะอักเสบ
- ทำความสะอาดเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น หวี แปรง หมวกกันน๊อค ผ้าโพกหัว โดยซักล้างแล้วผึ่งแดดให้แห้งสนิท
- ลดความเครียด รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์โดยเฉพาะผักและผลไม้ต่างๆ งดของทอด ของมัน
- หากปล่อยไว้นานอาจทำให้เกิดผมร่วง ผมบาง ตามมา เริ่มรักษาแต่เนิ่น ดีที่สุด
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ปัญหาผมร่วง มีกี่ประเภท และวิธีป้องกันผมร่วงอย่างได้ผล
ฮาวิล่าห์ สมุนไพรเปลี่ยนสีผม เนเชอรัล เฮนน่า พลัส เปปไทด์
บำรุงรากผม อย่างไร ทำไม “รากผม” ถึงต้องการบำรุงมาเป็นพิเศษ
แชมพูลดผมร่วง อันดับ 1 ของประเทศไทยที่สามารถแก้ปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน หัวเถิก ฯลฯ ผู้ใช้ 8ใน10คน ผมหยุดร่วงตั้งแต่เซตแรกที่ใช้!! รีวิวแน่น ไม่มีหน้าม้า ทุกเคสรีวิวมีตัวตนจริง !! แชมพูหนึ่งเดียวในไทย ที่มีกระบวนการผลิตแบบออร์แกนิค โดยใช้ “สมุนไพรสด (Fresh Herbal)” ที่คงคุณประโยชน์ของสมุนไพรได้อย่างครบถ้วน 100% ไม่ว่าจะเป็นอัญชัน ผิวมะกรูด ชุมเห็ดใหญ่ บอระเพ็ด ใบส้มป่อย อ่อนโยนไม่ระคายเคือง แม้ผิวบอบบางแพ้ง่ายก็สามารถใช้ได้ ปราศจากซิลิโคน พาราเบน และสารเคมีที่ทำร้ายเส้นผมและหนังศีรษะ
สำหรับคนที่มีปัญหาเส้นผมและหนังศีรษะที่ใช้อะไรก็ไม่หาย เราอยากจะให้ท่านลองใช้ “แชมพูสมุนไพร ฮาวิล่าห์” ช่วยแก้ปัญหาเส้นผมได้ตรงจุด รีวิวจากผู้ใช้จริงมากมาย ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ฮาวิล่าห์ เป็นแชมพูสูตรสมุนไพร ที่ช่วยแก้ปัญหาผมร่วงและบำรุงเส้นผมให้มีสุขภาพดีได้จริง เห็นผลต่างจากแชมพูรักษาผมร่วงอื่นๆที่เคยใช้มาก่อนหน้านี้อย่างสิ้นเชิง”
Pingback: บำรุงรากผม อย่างไร ทำไม "รากผม" ถึงต้องการบำรุงมาเป็นพิเศษ
Pingback: "แอนโทไซยานิน" (Anthocyanin) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?